สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 21-27 มิถุนายน 2562

 

ข้าว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 และมติที่ประชุม นบข. ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือก อุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และ รอบที่ 2 จำนวน 13.81 ล้านไร่
2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่
(นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
(8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริม
การปลูกพืชหลากหลาย (10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ ได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร (2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ ได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ
(2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/ เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,774 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,794 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.13
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,762 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,787 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.32
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 33,850 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,650 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,125 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,333 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,126 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,859 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.08 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 526 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 426 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,001 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 420 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,003 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.42 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 2 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 417 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,726 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 411 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,724 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.45 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 2 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 426 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,001 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 423 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,096 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.70 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 95 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.5179
 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2562/63 ณ เดือนมิถุนายน 2562
ว่าจะมีผลผลิต 497.616 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 499.074 ล้านตันข้าวสาร หรือลดลงร้อยละ 0.29 จากปี 2561/62
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลก ปี 2562/63 ณ
เดือนมิถุนายน 2562 มีปริมาณผลผลิต 497.616 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2561/62 ร้อยละ 0.29
การใช้ในประเทศ 495.950 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก ปี 2561/62 ร้อยละ 1.02 การส่งออก/นำเข้า 47.545 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2560/61 ร้อยละ 2.21 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 171.872 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี
2561/62 ร้อยละ 0.98
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน กายานา ไทย และะสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่
คาดว่าจะส่งออกลดลง
ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล เมียนมาร์ ปารากวัย และรัสเซีย
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ แองโกลา เบนิน บราซิล เบอร์กินา คาเมรูน กินี อิรัก เคนย่า
โมแซมบิค เนปาล ไนจีเรีย ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล และสหรัฐอาหรับเอมิเรส ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง
ได้แก่ อิยิตป์ อิหร่าน เม็กซิโก ฟิลิปปินส์ และแอฟริกาใต้
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน อินเดีย ฟิลิปปินส์ และไทย ส่วนประเทศ
ที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ บังคลาเทศ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
ภาวะราคาข้าวขาว 5% เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา อ่อนตัวลงมาอยู่ที่ตันละ 340-345 ดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากตันละ 345-350 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า ท่ามกลางภาวะตลาดที่เงียบเหงา เนื่องจากยังไม่มีการเสนอซื้อขายมากนัก แม้ว่าในช่วงนี้จะมีผลผลิตข้าวของฤดูการผลิตฤดูร้อน (the summer-autumn) เริ่มทยอยออกสู่ตลาดจำนวนมาก ซึ่งวงการค้าคาดว่าการเก็บเกี่ยวจะแล้วเสร็จในอีกประมาณ 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า
กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม (the Ministry of Industry and Trade) ได้จัดการประชุมเพื่อประเมินสถานการณ์การส่งออกข้าวในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อพิจารณาโอกาสและอุปสรรคต่างๆ ในการส่งออกข้าว ซึ่งพบว่าในช่วงครึ่งปีแรกการส่งออกข้าวยังไม่ค่อยดีนัก โดยการส่งออกไปยังตลาดหลัก 3 แห่ง ประกอบด้วย จีน อินโดนีเซีย และ
บังคลาเทศ มีจำนวนประมาณ 239,000 ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ประมาณร้อยละ 83 ขณะเดียวกัน
ผู้ส่งออกต่างพยายามมองหาตลาดส่งออกอื่นๆ ทำให้ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา เวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 2.76 ล้านตัน แต่คาดว่าหลังจากนี้ผู้ส่งออกจะเผชิญอุปสรรคอีกหลายประการ จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือ
ทั้งนี้ กรมการส่งออกและนำเข้า (the Export and Import Department) รายงานว่า ในช่วง 5 เดือนแรกของปี เวียดนามส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนประมาณ 223,078 ตัน มูลค่าประมาณ 111.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณส่งออกลดลงร้อยละ 74 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากประเทศจีนมีสต็อกข้าวจำนวนมาก จึงทำให้ความต้องการนำเข้าในปีนี้ลดลง ประกอบกับทางการจีนมีมาตรการควบคุมการนำเข้าเข้มงวดมากยิ่งขึ้น นอกจากประเทศจีนจะลดการนำเข้าข้าวแล้ว จากการที่รัฐบาลมีการระบายสต็อกข้าวเก่าออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้จีนหันมาส่งออกข้าวมากขึ้น และถือเป็นคู่แข่งที่ประมาทไม่ได้ในขณะนี้ ซึ่งประเด็นนี้ได้สร้างปัญหาให้แก่ประเทศไทยและอินเดียเช่นเดียวกัน
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมข้าวของเวียดนาม ได้เสนอให้หน่วยงานรัฐบาล
มุ่งเป้าหมายที่จะพัฒนาคุณภาพข้าวให้สูงขึ้น และมองหาตลาดให้หลากหลายมากขึ้น โดยจะต้องมีโครงการส่งเสริม การตลาดและพัฒนาผู้ส่งออกข้าวให้สร้างตราสินค้า และพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้น
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
จีน
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า การประมูลขายข้าวจากสต็อกของรัฐบาล เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา ศูนย์การค้าธัญพืชแห่งชาติ (the National Grain Trade Center) สามารถขายข้าวได้ 342,839 ตัน จากที่นำข้าวออกประมูลประมาณ 790,316 ตัน (คิดเป็นร้อยละ 43.38 ของปริมาณข้าวที่นำออกมาเสนอขาย) โดยราคาขายอยู่ที่ 1,774 หยวนต่อตัน หรือประมาณ 256 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงานว่า ในปี 2562 ตั้งแต่ช่วงวันที่ 1 มกราคม-12 มีนาคม 2562 หน่วยงานด้านการสำรองธัญพืช (the State Administration of Grains and Reserves; SAGR) ของรัฐบาลจีน
นำข้าวเก่าจากสต็อกรัฐบาล ซึ่งเป็นข้าวสายพันธุ์ Indica ต้นฤดู (early indica rice) ออกเสนอขายประมาณ 7.24
ล้านตัน แต่สามารถขายออกได้เพียง 22,000 ตันเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่โรงสีข้าวจะซื้อข้าวฤดูใหม่สำหรับใช้แปรรูปเท่านั้น
ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา หน่วยงานด้านการสำรองธัญพืช (SAGR) เริ่มนำข้าวสายพันธุ์ Indica กลาง และ
ปลายฤดู (mid-to-late indica rice) ออกเสนอขายก่อนกำหนดเวลาประมาณ 2 เดือน เพื่อลดภาระการสต็อกข้าวของรัฐบาล อย่างไรก็ตามคาดว่าการจำหน่ายข้าวจะล่าช้าออกไปจนถึงเดือนพฤษภาคมนี้ ขณะที่การเสนอขายข้าวสายพันธุ์ Japonica ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะนำมาเสนอขายในช่วงเวลาใด
ทั้งนี้ เมื่อปี 2561 ในช่วงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-27 ธันวาคม 2561 ได้มีการจัดประมูลขายข้าวออกไปได้ ประมาณ 8.5 ล้านตัน (ไม่รวมข้าวที่ประมูลเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม)
กรมศุลกากรจีน (General Administration of Customs of the People's Republic of China; GACC) รายงานว่า การส่งออกข้าวในเดือนพฤษภาคม 2562 มีปริมาณ 0.343 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับปริมาณ 0.350 ล้านตัน ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 236 เมื่อเทียบกับปริมาณ 0.102 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2562 (มกราคม-พฤษภาคม 2562) ประเทศจีนส่งออกข้าวประมาณ 1.172 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 448.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 94 และร้อยละ 47 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
บังคลาเทศ
ความคืบหน้าของโครงการรับซื้อข้าวเพื่อเก็บสต็อกไว้ ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2562 และสิ้นสุดในวันที่ 31 สิงหาคมนี้ นับจนถึงขณะนี้ รัฐบาลรับซื้อข้าวเปลือกช่วงของฤดูการผลิต Boro (มกราคม-พฤษภาคม) จากเกษตรกรแล้วประมาณ 400,000 ตัน ซึ่งเกือบครบตามเป้าหมายที่กำหนดแล้ว ส่วนการรับซื้อข้าวสารจากโรงสีข้าวนั้น สามารถจัดซื้อได้แล้วประมาณร้อยละ 42 จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 1.1 ล้านตัน
ทั้งนี้ รัฐบาลได้ออกมาตรการรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรในช่วงของฤดูการผลิต Boro ซึ่งเป็นหนึ่งใน มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวในประเทศที่ลดลง เนื่องจากผลผลิตข้าวในปีนี้มีจำนวนมากเกินความต้องการ ส่งผลให้ราคาข้าวในประเทศลดลงเป็นประวัติการณ์ โดยรัฐบาลได้กำหนดราคาสำหรับข้าวเปลือกไว้ที่ 26 ทากาต่อกิโลกรัม
หรือประมาณ 305 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน สำหรับข้าวนึ่งกำหนดไว้ที่ 36 ทากาต่อกิโลกรัม หรือประมาณ 423 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และข้าวขาวที่ไม่ใช่ข้าวนึ่งกำหนดไว้ที่ 38 ทากาต่อกิโลกรัม หรือประมาณ 446 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน
กรมส่งเสริมการเกษตร (The Department of Agriculture Extension; DAE) พยากรณ์ว่า ผลผลิตข้าว
ในฤดูการผลิต Boro ในปี 2562 นี้ จะมีประมาณ 19.9 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากจำนวน 19.7 ล้านตัน ในปี 2561 ขณะที่กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) คาดว่า ในปีการผลิต 2561/62 บังคลาเทศจะมีผลผลิตข้าวประมาณ 34.9 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 7 เนื่องจากมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าว ประกอบกับผลผลิตข้าวต่อไร่มีจำนวนเพิ่มขึ้น
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย




กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
 
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.86 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.83 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.38 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.24 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.23 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.90 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.02 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.33 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.48 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.46 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 302.40 ดอลลาร์สหรัฐ (9,229 บาท/ตัน) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 133 บาท (9,362 บาท/ตัน)
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2562/63 ว่ามี 1,134.05 ล้านตัน ลดลงจาก 1,134.34 ล้านตัน ในปี 2561/62 ร้อยละ 0.03 โดยสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และแคนนาดา มีความต้องการใช้ลดลง สำหรับการค้าของโลกมี 171.24 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 167.52 ล้านตัน ในปี 2561/62 ร้อยละ 2.22 โดยบราซิล อาร์เจนตินา รัสเซีย และเม็กซิโก ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น เม็กซิโก ญี่ปุ่น อิหร่าน เกาหลีใต้ เวียดนาม อียิปต์ จีน โคลัมเบีย ซาอุดิอาระเบีย แอลจีเรีย มาเลเซีย โมร็อกโก ตุรกี ชิลี อิสราเอล บังกลาเทศ กัวเตมาลา เคนยา และสหรัฐอเมริกา มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น (ตารางแนบท้าย)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2562 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 443.88 เซนต์ (5,408 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 449.64 เซนต์ (5,557 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.28 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 149 บาท



 


มันสำปะหลัง
 
 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2562 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมิถุนายนจะมีประมาณ 1.282 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.231 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.542 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.278 ล้านตัน ของเดือนพฤษภาคม คิดเป็นร้อยละ 16.86 และร้อยละ 16.91 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 3.19 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 2.82 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 13.12                                                                          
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 21.55 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 20.30 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.16              
2.  ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียปรับตัวลดลง
ราคาน้ำมันปาล์มดิบซื้อขายล่วงหน้าตลาดมาเลเซียปรับตัวลดลงอยู่ที่ 1,980 ริงกิตต่อตัน (477.80 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ลดลงร้อยละ 0.9 ซึ่งลดลงมากที่สุดในรอบ 2 สัปดาห์ เนื่องจากราคาน้ำมันพืชถั่วเหลืองอ่อนตัวลงส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันปาล์มดิบและความต้องการซื้อน้ำมันปาล์มดิบ สำหรับการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบ ของมาเลเซียในช่วง 25 วันแรก ลดลงร้อยละ 15.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่ผ่านมา ในขณะน้ำมันพืชถั่วเหลืองซื้อขายล่วงหน้าปรับตัวลดลงร้อยละ 3 ส่งผลให้ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบตลาดมาเลเซียปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม คาดว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในไตรมาสที่ 3 อยู่ในช่วง 1,634-1,933 ริงกิตต่อตัน 
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,958.09 ดอลลาร์มาเลเซีย  (14.74 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 2,016.42 ดอลลาร์มาเลเซีย  (15.31 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.89    
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 508.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (15.72 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 496.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (15.59 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.32    
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
 


อ้อยและน้ำตาล

 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท(ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 899.36 เซนต์ (10.22 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 908.24 เซนต์ (10.48 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.98
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 314.90 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.74 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 321.94 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.11 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.19
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 28.08 เซนต์ (19.15 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 27.55 เซนต์ (19.42 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.92


 

 
ยางพารา

 

 
สับปะรด



 

 
ถั่วเขียว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.43 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 982.60 ดอลลาร์สหรัฐ (29.99 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 967.80 ดอลลาร์สหรัฐ (29.96 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.53 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 916.60 ดอลลาร์สหรัฐ (27.97 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 903.00 ดอลลาร์สหรัฐ (27.96 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.51 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 982.60 ดอลลาร์สหรัฐ (29.99 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 967.80 ดอลลาร์สหรัฐ (29.96 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.53 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 587.00 ดอลลาร์สหรัฐ (17.91 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 578.20 ดอลลาร์สหรัฐ (17.90 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.52 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1009.20 ดอลลาร์สหรัฐ (30.80 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 993.80 ดอลลาร์สหรัฐ (30.77 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.55 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.51 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.75 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อย 12.35
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ฝ้าย
 
          1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
          ราคาที่เกษตรกรขายได้
          ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
          ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
          ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2562 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 64.90 (กิโลกรัมละ 44.28 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 65.10 (กิโลกรัมละ 45.05 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.31 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.77 บาท

 
 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,659 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,666 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.42
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,334 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,331 บาท  ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 0.23
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 836 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
สถานการณ์สุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรยังคงมีอย่างต่อเนื่องและใกล้เคียงกับปริมาณผลผลิตสุกรในท้องตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  72.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 71.76 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.33 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 72.38 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 69.33 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 72.55 บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 73.37 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,200 บาท (บวกลบ 74 บาท)  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่ค่อนข้างทรงตัว   แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.91 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 37.05บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.38 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท  ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.75 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.86 บาท  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 14.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ  36.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.00 บาท ทรงตัวสัปดาห์ที่ผ่านมา 

 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา  ผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโดยคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) ได้ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ ด้วยการปรับสมดุลการผลิตให้เหมาะสมกับความต้องการบริโภคในประเทศ ลดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไข่ไก่ของไทยจากปัญหาไข่ไก่ล้นตลาด เพื่อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่สามารถขายไข่ไก่ได้ในราคาที่น่าพึงพอใจ และไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค โดยได้ปรับสมดุลปริมาณไข่ไก่ให้สอดคล้องกับความต้องการตลาด ด้วยการขอความร่วมมือภาคเอกชนผู้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ ปรับลดกำลังการผลิต บางส่วนนำผลผลิตไข่ไก่ส่วนเกินออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ อีกทั้งปรับลดแม่ไก่ไข่ยืนกรงทั้งอุตสาหกรรม ส่งผลให้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ยังคงปรับตัวสูงขึ้น แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย   
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 282 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 280 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.71 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 293 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 287 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 278 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ  321  บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ  256 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 25.39

 

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ  332 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 331 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.30 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 345 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 334 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 308 บาท และภาคใต้ ร้อยละ 390 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   

 
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 88.98 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 89.13 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.17 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.28 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 84.34 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 88.18 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 101.72 บาท

 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.39 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.06  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.70 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.52 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

 
 


 
ประมง

1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 21 – 27 มิถุนายน 2562) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3-4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.96 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 79.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.71 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.92 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 140.27 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.65 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 139.17 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 138.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.84 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.84 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคา  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 140.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคา  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.11 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% เฉลี่ยสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา